สายมูไม่พลาด! เก้าอี้นวดไฟฟ้าเสริมพลัง ปรับสมดุลร่างกาย

เลือกสีเก้าอี้นวดไฟฟ้าให้ปัง เสริมดวงและเสริมสุขภาพไปพร้อม ๆ กันได้


ทุกวันนี้เราจะพบคำว่าหลักสรีรศาสตร์ได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เพราะผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจกับสุขภาพร่างกาย พร้อมกับมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มาช่วยส่งเสริมให้มนุษย์มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบของเก้าอี้สำนักงาน อุปกรณ์เครื่องใช้ และเก้าอี้นวดไฟฟ้า ก็ได้ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์และการยศาสตร์กันอย่างแพร่หลาย เพราะพฤติกรรมของมนุษย์ในยุคปัจจุบันอย่างการนั่งของมนุษย์ออฟฟิศ ที่ต้องทำงานอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมงต่อวันต่อสัปดาห์ รวมถึงกิจกรรมการนั่งอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งเรียน นั่งขับรถ และนั่งพักผ่อนต่าง ๆ ก็ล้วนส่งผลให้เกิดโรคยอดฮิตอย่างโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ได้ง่าย ๆ

วันนี้เราจึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับหลักสรีรศาสตร์และหลักการยศาสตร์ ว่าคืออะไร และจะนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง เพื่อช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของร่างกายของเรา และช่วยปรับท่าทางให้ถูกต้องตามหลักและใช้งานได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการนั่งพักผ่อนบนเก้าอี้นวดไฟฟ้าที่ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์นั้น จะสามารถช่วยลดอาการปวดเมื่อย คลายความตึงก่อนที่จะเกิดเป็นอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูก และส่งผลไปสู่โรคอื่น ๆ ในระยะยาวได้

หลักสรีรศาสตร์ คืออะไร?

หลักสรีรศาสตร์ หรือสรีรวิทยาของมนุษย์ (Human Physiology) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ในระบบต่าง ๆ ว่ามีหน้าที่และการทำงานอย่างไร ทั้งส่วนของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ระบบประสาท ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหายใจ และระบบหัวใจ ซึ่งเป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้มนุษย์ใช้งานร่างกายได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยไม่ฝืนธรรมชาติของร่างกาย นอกจากนี้หลาย ๆ คนอาจได้ยินคำว่าสรีรศาสตร์มาควบคู่กับว่า การยศาสตร์ (Ergonomics) ซึ่งหมายถึงศาสตร์ที่เน้นการศึกษาความสัมพันธ์ของคนกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือกฎในสภาพการทำงานนั่นเอง ซึ่งทั้ง 2 ศาสตร์นี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการปรับพฤติกรรมของมนุษย์ยุคปัจจุบันให้มีอาการออฟฟิศซินโดรมและความปวดเมื่อยลดลงได้

รู้จักหลักสรีรศาสตร์และการยศาสตร์ในการนั่งทำงาน

เรามาดูกันว่าขณะที่เรากำลังนั่งทำงานกันอยู่นั้น ร่างกายของเรามีการทำงานอย่างไร แล้วเราจะปรับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง

  • บริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง (เอว)
    ระหว่างที่นั่งเก้าอี้อยู่นั้น น้ำหนักของร่างกายทั้งหมดจะตกลงที่กระดูกเชิงกรานส่วนล่าง บริเวณปลายของกระดูกสันหลัง (Sit Bone) ส่งผลให้บริเวณลำตัวส่วนบนมีการโน้มเอียงไปด้านหน้าเพื่อทรงตัว และทำให้กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างล้าได้ตามลำดับ

    คำแนะนำ: ควรนั่งในท่าหลังตรงหรือมีการพิงพนักเล็กน้อยในมุมประมาณ 90-100 องศา และควรปรับเปลี่ยนท่าทางหรือลุกขึ้นขยับร่างกายเพื่อลดอาการล้าสะสมของกล้ามเนื้อบริเวณหลังล่างได้

  • หมอนรองกระดูก มีผลงานวิจัยพบว่า เวลาที่เรานั่งนั้นจะมีความดันภายในหมอนรองกระดูกมากกว่ายืนมากถึง 35% โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนั่งบนเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิงจะทำให้เกิดความดันที่สูงกว่าเก้าอี้ที่มีพนักพิงเสมอ ซึ่งความดันภายในหมอนรองกระดูก ส่งผลให้เกิดปัญหาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทตามมาได้ภายหลัง 
    คำแนะนำ: ไม่ควรนั่งติดต่อกันในระยะเวลานาน ควรปรับเปลี่ยนท่าและลุกขึ้นยืนเพื่อลดการสะสมของระดับความดัน

  • กระดูกคอและไหล่ 
    ในระหว่างที่เรามองจอคอมพิวเตอร์ หรือการเขียนหนังสือ จะทำให้เรามีการโน้มเอียงศีรษะไปด้านหน้า กระดูกสันหลังระดับอกและคอ จะทำหน้าที่พยุงศีรษะของเราไว้ แต่ถ้าเรานั่งในลักษณะที่คอยื่นไปด้านหน้านานขึ้น จะทำให้กล้ามเนื้อคอด้านหลังเกิดอาการล้า จนเกิดเป็นอาการตึงและปวดเมื่อยได้ นอกจากนี้หากมีระดับการมองที่ไม่เหมาะสมก็จะทำให้กระดูกคอสันหลังและส่วนบนวางตัวในแนวผิดปกติ และส่งผลให้เกิดอาการปวดคอและปวดไหล่ได้ในที่สุด


    คำแนะนำ: ควรนั่งในลักษณะหลังตั้งตรงไม่โน้มคอลงไปด้านหน้า เพื่อลดอาการล้าของกล้ามเนื้อ และปรับระดับของการมองหรือจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา ไม่ยกหัวไหล่ตั้ง จึงควรมองหาเก้าอี้ที่สามารถปรับระดับให้เหมาะสมกับระดับของโต๊ะได้

  • บ่า แขน และข้อมือ 
    การใช้แป้นพิมพ์และเม้าส์ในการทำงาน จะทำให้กล้ามเนื้อมัดเล็กของแขนท่อนล่างและมือเกิดการหดตัวแบบเคลื่อนที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนั่งโดยไม่มีที่วางแขน จะทำให้ต้องใช้แรงเพิ่มมากขึ้น 20-30% ซึ่งส่งผลให้เกิดการกดหรือการใช้แรงที่บริเวณบ่า ซึ่งนำไปสู่อาการปวดเมื่อยบ่า แขน และมือได้


    คำแนะนำ: ควรนั่งบนเก้าอี้ที่มีที่วางแขนและสามารถปรับระดับได้ตามความเหมาะสม เพื่อลดการกดแรงลงบริเวณบ่า รวมถึงระดับในการใช้แป้นพิมพ์และเม้าส์ ไม่ควรวางสูงกว่าระดับตัวมากเกินไป ควรให้ข้อมือและมืออยู่ในระนาบเดียวกันกับอุปกรณ์และไม่ระยะที่ใช้งานได้โดยไม่ต้องโน้มตัวไปด้านหน้า

  • ขา ข้อพับ และเท้า 
    ในกรณีของผู้ที่มีส่วนสูงไม่มาก อาจพบปัญหาที่เท้าไม่แตะพื้น หรือไม่มีที่พักเท้าที่เหมาะสม ทำให้ต้องโน้มตัวเข้ามาด้านหน้า อาจทำให้เกิดการกดทับบริเวณข้อพับเข่าและเกิดอาการขาบวมได้ ส่วนของเท้าหากไม่ได้วางราบกับพื้น จะทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณช่วงขา จนกลายเป็นความปวดเมื่อย


    คำแนะนำ: ควรเลือกเก้าอี้ที่เบาะไม่ลึกจนทำให้เท้าไม่แตะพื้น หรือหาอุปกรณ์พักเท้ามาวาง เพื่อลดอาการเกร็ง และการกดทับของบริเวณขา นอกจากนี้ควรนั่งให้เข่าอยู่ระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าสะโพกเล็กน้อย เพื่อลดการกดทับบริเวณข้อพับจนเกิดการปวดและชาขาได้
 

จะเห็นได้ว่าในขณะที่เรานั่งทำงานอยู่นั้น ร่างกายของเราแทบทุกส่วนนั้นได้รับผลกระทบหากเราอยู่ท่านั่งที่มีสรีระไม่เหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยและปัญหาอื่น ๆ ตามมา แม้ว่าเราไม่อาจเลี่ยงกิจกรรมการนั่งทำงานในชีวิตประจำวันได้ แต่เราสามารถปรับพฤติกรรมท่านั่งให้เหมาะสมและขยับร่างกายให้มากขึ้น และเลือกใช้เก้าอี้ที่ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ได้

ห้ามพลาด! เคล็ดลับคลายอาการปวดเมื่อยกับเก้าอี้นวดไฟฟ้าและเครื่องนวดเท้า MAKOTO
หากชาวออฟฟิศที่ปรับพฤติกรรมแล้ว แต่ยังมีอาการปวดเมื่อยอยู่นั้นก็เป็นเรื่องปกติ เพราะแม้จะนั่งทำงานตามหลักสรีรศาสตร์แล้ว แต่ก็ยังมีการใช้งานของกล้ามเนื้อและกระดูก จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยขึ้นได้ตลอด ซึ่งอีกหนึ่งเคล็ดลับที่เราจะมาแนะนำในวันนี้คือ ตัวช่วยให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายและให้คุณได้พักผ่อนด้วยเก้าอี้นวดไฟฟ้าและเครื่องนวดเท้า MAKOTO บอกได้เลยว่าเป็นตัวช่วยที่เห็นผลดีและฟินสุด ๆ

 

  • เก้าอี้นวดไฟฟ้า MAKOTO รุ่น A301 เข้าถึงจุดเมื่อยได้ทุกจุด
    เก้าอี้นวดไฟฟ้าที่ออกแบบมาตามหลักสรีรศาสตร์ รองรับหลังและการนั่งในระยะเวลานานได้ อีกทั้งหากมีการปรับเอนก็มีการรับน้ำหนักที่ถูกต้อง จึงไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย พร้อมช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ทุกจุดด้วยโปรแกรมการนวดแบบ L-Shape Full Body Massage ให้นวดผ่อนคลายได้ตั้งแต่คอ บ่า ไหล่ แผ่นหลัง สะโพก ยาวลงมาถึงต้นขา พร้อมกับการนวดน่อง ไปจนถึงปลายเท้า

    นอกจากนี้ยังสามารถเลือกรูปแบบการนวดได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น นวดทั่วไป นวดกดจุด นวดคลึง เน้นเฉพาะจุด และนวดทุบ เป็นต้น ซึ่งสามารถปรับระดับความเร็วและความกว้างของลูกกลิ้งที่ใช้นวดได้ถึง 3 ระดับ เพื่อให้เหมาะสมกับความชอบของผู้ใช้งานแต่ละคน อีกทั้งยังมีโหมดเสริมอย่างโหมด Heat บริเวณแผ่นหลังให้รู้สึกอุ่นขณะนวด เหมือนกับได้นวดและประคบอุ่นไปพร้อม ๆ กัน

 

  • เครื่องนวดเท้า เครื่องนวดฝ่าเท้า MAKOTO รุ่น K818
    เท้าเป็นอีกหนึ่งอวัยวะสำคัญของร่างกาย ที่หากได้รับดูแลเป็นอย่างดีแล้วจะส่งผลดีต่อระบบหมุนเวียนเลือดทั้งหมด รวมไปถึงบรรเทาอาการปวดเมื่อยในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้อีกด้วย ซึ่งเครื่องนวดเท้ารุ่นนี้ได้ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ เพื่อให้นวดได้อย่างถูกต้องตามหลักของแพทย์ไทยโบราณและแพทย์แผนจีน ซึ่งสามารถนวดแบบกดจุด ด้วยระบบลูกกลิ้ง 4 ตำแหน่งและระบบ Air Bag 8 จุด ครอบคลุมตำแหน่งบนเท้าได้อย่างครบถ้วน สำหรับผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยบริเวณขา และต้องการบรรเทาความเมื่อยล้าให้ตรงจุด แต่ติดที่ไม่สามารถออกไปใช้บริการด้านนอกได้ตลอดเวลา เครื่องนวดเท้าของ MAKOTO จึงเป็นอีกทางออกที่สามารถตอบโจทย์เราได้อย่างดี ด้วยการนวดของเครื่องนวดเท้าที่ครอบคลุมทุกสรีระ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Phone : 095-874-7926

E-Mail : makotoforlife@gmail.com

Facebook: https://www.facebook.com/Makotomassage

Line ID : @makotomassage