บรรเทาอาการปวดเมื่อย ด้วยเก้าอี้นวดไฟฟ้า makoto

บรรเทาอาการปวดเมื่อย ด้วยเก้าอี้นวดไฟฟ้า makoto

สัญญาณอันตรายของการปวดเมื่อยจุดต่าง ๆ

  

หากคุณรู้สึกปวดเมื่อยบ่อย ๆ ควรพึงระวังสัญญาณอันตรายจากการปวดเมื่อยดังต่อไปนี้ ที่คุณอาจต้องรีบพบแพทย์เฉพาะทาง

1. รู้สึกแย่ลงในช่วงเช้า

หากคุณตื่นขึ้นมาแล้วกล้ามเนื้อแข็งตัว (โดยเฉพาะถ้าคุณไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย) แสดงว่าเป็นสัญญาณอันตราย โดย Anca Askanase, MD , นักกายภาพบำบัดและรองศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ที่ศูนย์การแพทย์ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียได้กล่าวไว้ว่า “ความผิดปกติของภูมิต้านทานผิดปกติเรื้อรังบางอย่างเกี่ยวข้องกับอาการปวดข้อและกล้ามเนื้อ รวมถึงอาการกล้ามเนื้อแข็งตัวในตอนเช้านั้น จะเกี่ยวข้องกับโรคข้ออักเสบและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์โดยเฉพาะ ซึ่งสาเหตุของความเจ็บปวดมักจะหายไปในระหว่างวันด้วยอาการเหล่านี้ เนื่องจากโมเลกุลที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด จะเริ่มไหลเวียนไปทั่วร่างกาย”

2. เกิดอาการเจ็บปวดขึ้นอย่างผิดปกติ

หากอาการเจ็บปวดของคุณเป็นเวลานานมากกว่าสองสัปดาห์ ให้คุณรีบพบแพทย์ เพื่อติดตามอาการป่วยกับแพทย์ ในจำนวน 90 % ของผู้ที่มีอาการปวดหลังเฉียบพลันจะมีอาการดีขึ้นใน 6 สัปดาห์ ตามการวิจัยในวารสาร Canadian Medical Association Journal แต่ถ้ามีอาการปวดข้อ อาการจะหายไปภายใน 2 สัปดาห์ หากไม่หายปวดข้อหลังจาก 2 สัปดาห์ให้รีบไปพบแพทย์ และหากมีอาการแดง บวม หรือรู้สึกร้อนร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์โดยทันทีทันใด เพราะอาจมีอาการติดเชื้อ หากคุณรู้สึกเจ็บปวดกล้ามเนื้อบ่อย ๆ ลองหันมาใช้เก้าอี้นวดไฟฟ้า ที่มีโปรแกรมนวดอัตโนมติมากถึง 23 โปรแกรม และสามารถสั่งงานผ่านหน้าจอ LED ได้แบบง่าย ๆ

3. ความเจ็บปวดของคุณขัดขวางกิจวัตรประจำวันของคุณ

หากคุณต้องหลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดเนื่องมาจากการปวดเข่า และคุณต้องหยุดพักจากการพิมพ์บนโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์เพราะข้อมือของคุณปวดเมื่อย ถ้าความเจ็บปวดของคุณเกี่ยวข้องกับข้อจำกัดในการทำงาน ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน คุณอาจจะรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้นเมื่อคุณนอนบนเตียง คุณควรรีบปรึกษาแพทย์ถ้าคุณรู้สึกปวดเมื่อยมากจนนอนไม่หลับ  

4. การติดเชื้อไวรัส

ไข้หวัดใหญ่ หรือการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียอื่น ๆ อาจทำให้ร่างกายปวดเมื่อยได้ เมื่อเกิดการติดเชื้อดังกล่าว ระบบภูมิคุ้มกันจะส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดขาวไปต่อสู้กับการติดเชื้อ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการกล้ามเนื้อในร่างกายอักเสบ ทำให้รู้สึกปวดเมื่อยและตึง

5. ยา

ยาบางชนิด เช่น สแตตินและยาลดความดันโลหิตมีผลข้างเคียงที่ทำให้รู้สึกปวดเมื่อยและกล้ามเนื้อเจ็บเกร็ง รวมถึงโคเคนและฝิ่นก็มีผลข้างเคียงเช่นเดียวกัน

6. ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ

ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ คือ ภาวะที่มีโพแทสเซียมในกระแสเลือดต่ำซึ่งส่งผลต่อการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้อ่อนแรง เหนื่อยล้า และปวดเมื่อยตามร่างกาย บางครั้งอาจทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริว

7. ความเครียด

ความเครียดเป็นสาเหตุทำให้เกิดความตึงเครียดในร่างกายและยังส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้ อาจทำให้กล้ามเนื้อรู้สึกตึง ซึ่งส่งผลให้ร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อและอักเสบของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย อาการเจ็บปวดตามร่างกายที่เกิดจากความเครียดมักปรากฏที่คอ ไหล่ และหลัง แม้ว่าจะรู้สึกเจ็บปวดในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ขา หน้าท้อง หรือหน้าอกก็ตาม โดยการปวดเมื่อยตามร่างกายมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจะรุนแรงในช่วงเวลาสั้น ๆ ความเครียดทำให้กล้ามเนื้อตึง เมื่อคุณผ่อนคลาย กล้ามเนื้อจะคลายตัว แต่ความเครียดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเรื้อรังอาจนำไปสู่ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ลองผ่อนคลายจากความตึงเครียดหลังจากกลับจากการทำงานด้วยเก้าอี้นวดไฟฟ้า

8. นอนไม่หลับ

การอดนอนอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้ โดยนักวิทยาศาสตร์คิดว่าอาจมีการเชื่อมโยงระหว่างการนอนหลับกับความเจ็บปวด ในงานวิจัยพบว่าผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยเรื้อรังมักนอนหลับยาก เมื่อเวลาผ่านไปการนอนหลับไม่เพียงพออาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย และรู้สึกปวดเมื่อยได้ การอดนอนยังส่งผลต่อความสามารถของร่างกายในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและเซลล์ต่าง ๆ เมื่อร่างกายไม่มีเวลาเพียงพอในการซ่อมแซมและพักฟื้น อาจทำให้มีอาการปวดเมื่อยบ่อยขึ้น

9. โรคปอดอักเสบ

โรคปอดอักเสบเป็นโรคปอดที่อาจเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โรคปอดอักเสบอาจทำให้ไม่สามารถรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้เพียงพอ หากไม่มีออกซิเจนเพียงพอ เซลล์เม็ดเลือดแดงและเนื้อเยื่อในร่างกายจะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้

10. โรคแพ้ภูมิตัวเอง 

ความผิดปกติของภูมิต้านทานผิดปกติต่าง ๆ อาจทำให้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ซึ่งรวมถึง 

  • โรคเอสแอลอีหรือลูปัส : สาเหตุของการเกิดโรคนี้เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของคนถูกโจมตี จึงทำให้ร่างกายเกิดอาการอักเสบ

 

  • กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) : การอักเสบของกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเหนื่อยล้าและไม่สบายตัว

 

  • เส้นโลหิตตีบ (MS) :  เป็นภาวะที่ภูมิต้านทานในร่างกายส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยผู้ที่เป็นโรคเส้นโลหิตตีบจะรู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกายเนื่องจากเนื้อเยื่อรอบเซลล์ประสาทถูกทำลายลง

11. ขาดวิตามินดี

ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำอาจเกิดขึ้นได้เมื่อภายในร่างกายมีวิตามินดีไม่เพียงพอสำหรับร่างกาย เพราะไตและกล้ามเนื้อต้องอาศัยแคลเซียมเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระดูกของคุณยังต้องการแคลเซียมเพื่อสุขภาพที่ดี หากไม่มีวิตามินดีเพียงพอที่จะช่วยคุณดูดซึมแคลเซียม คุณจะรู้สึกปวดเมื่อยตามตามกระดูก และอาจเกิดอาการตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก อาการวิงเวียนศีรษะ และอาการชักขึ้นมาได้

12. อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง

อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (CFS) เป็นภาวะที่ทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนแรง ไม่ว่าคุณจะพักผ่อนหรือนอนหลับมากแค่ไหนก็ตาม และมักทำให้คุณนอนไม่หลับ เนื่องจากร่างกายของคุณไม่ได้รู้สึกว่าพักผ่อนเต็มที่ จึงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อทั่วร่างกายของคุณ 

อาการอ่อนเพลียเรื้อรังเป็นภาวะที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและง่วงนอนอย่างรุนแรงซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน โดยอาการปวดเมื่อยเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ที่มีอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง นอกจากนี้ยังมีอาการปวดหัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง เจ็บคอ และมีปัญหาด้านความจำอีกด้วย เมื่อพบว่าคุณรู้สึกอ่อนเพลีย ลองใช้เก้าอี้นวดไฟฟ้าที่ทำให้คุณรู้สึกได้พักผ่อนและผ่อนคลายไปในตัว แล้วคุณจะรู้สึกร่างกายสดชื่นมากขึ้น

13. อดนอน

การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างเซลล์ใหม่ซึ่งเป็นกระบวนการของร่างกายในการฟื้นฟูเซลล์และเนื้อเยื่อที่เสียหาย การนอนหลับไม่เพียงพออาจส่งผลต่อการผลิตเซลล์ใหม่ ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียและปวดเมื่อยตามตัว

การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อมีอาการปวดเมื่อยจนผิดปกติ พึงระวังสัญญาณอันตราย หากพบมีสิ่งผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์แต่เนิ่น ๆ และหมั่นนั่งเก้าอี้นวดไฟฟ้า เพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อย เก้าอี้นวดไฟฟ้า เก้าอี้นวดเท้า มาโกโตะ (Makoto)  สินค้าประกันคุณภาพสูงสุด 5 ปี สนใจทดลองนั่งและดูสินค้าได้ที่ห้าง Central สาขา ชิดลม รังสิต บางนา และพระราม 3

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Phone : 095-874-7926

E-Mail : makotoforlife@gmail.com

Facebook: https://www.facebook.com/Makotomassage

Line ID : @makotomassage